1. อธิบายส่วนประกอบของภาพยนตร์ในด้านการเกิดภาพ เสียง และการเคลื่อนไหวได้
2. จำแนกและยกตัวอย่างประเภทต่าง ๆ ของภาพยนตร์ได้
3. อธิบายคุณค่าของภาพยนตร์ที่มีต่อการเรียนการสอนได้
4. อธิบายการทำงานของระบบโทรทัศน์ โดยจำแนกออกตามระบบการถ่ายทอดของโทรทัศน์ แต่ละประเภทได้
5. อธิบายประเภทของรายการโทรทัศน์การศึกษา และรูปแบบของโทรทัศน์เพื่อการศึกษาได้และประโยชน์ได้
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552
ความหมายของภาพยนตร์และส่วนประกอบของเครื่องฉาย
9.1.1 ความหมายภาพยนตร์ หมายถึง ภาพที่มีการเคลื่อนไหว ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Motion Picture หรือ Cinema หรือ Cine Films หรือที่อเมริกันเรียกว่า Movie ซึ่งหมายถึงภาพที่เรียงติดต่อกันบนฟิล์มยาว ๆ อันเกิดจากการถ่ายด้วยกล้องภาพยนตร์ (Movie Camera) เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ (Movie Projector) เราจะมองเห็นภาพที่ปรากฏบนจอเคลื่อนไหวติดต่อกันได้เหมือนที่เราเห็นของจริงตามธรรมชาติ การเกิดภาพนั้นเนื่องมาจากนัยน์ตาของคนเรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ และรู้ว่าอะไรเป็นอะไรได้ด้วย ระบบประสาทภายในสมอง เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งแล้วเลื่อนไปเห็นอีกสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ใช่ว่าสิ่งแรกจะเลือนหายไปทันทีสิ่งนั้นพ้นจากสายตาเราไป แต่ภาพของสิ่งแรกนั้นยังคงเหลือค้างอยู่ในประสาทของเรา ทำให้เรามองเห็นภาพเก่านั้นอยู่ชั่วแวบหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งของวินาที แล้วจึงเห็นภาพใหม่ได้ชัดเจนติดต่อกันอยู่ชั่วแวบหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งของวินาที แล้วจึงเห็นภาพใหม่ได้ชัดเจนติดต่อกันไปอย่างที่เรียกว่า "การเห็นติดตา" (Persistence of Vision)
9.1.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องฉายระบบตรง มีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1) ล้อม้วนฟิล์ม (Supply Reel) และล้อเก็บฟิล์ม (Take up Reel) ฟิล์มจากม้วนจะร้อยเข้าเครื่องและส่งไปยังล้อเก็บฟิล์ม
2) กลไกที่ทำให้ภาพเคลื่อนไหวบนจอ ได้แก่ เฟืองหนามเตย (Sprocket) กวัก (Intermittent) ใบพัดกั้นแสง (Shuter)
3) มอเตอร์ (Motor) ทำให้กลไกภายในเครื่องฉายหมุน เช่น พัดลม เฟืองหนามเตย กวัก และใบพัดกั้นแสง 4) ส่วนที่ทำให้เกิดแสง ได้แก่ แผ่นสะท้อนแสง หลอดฉาย เลนส์รวมแสง และเลนส์ฉาย
5) ประตูฟิล์ม (Film Gate) เป็นช่องให้ฟิล์มผ่าน โดยแสงจากหลอดจะส่องผ่านฟิล์ม ผ่านเลนส์ฉายออกสู่จอ
6) เลนส์ฉาย (Projection Lens) มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเลนส์ควบแสง และผ่านฟิล์มที่ประตูฟิล์มมายังเลนส์ฉาย เลนส์ฉายมีหน้าที่ขยายลำแสงที่ผ่านฟิล์มให้มีเนื้อที่มากขึ้น และ ปรากฏที่จอต่อไป ที่เลนส์ฉายนี้จะมีที่ปรับโฟกัสเพื่อช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนจอมีความชัด
9.1.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องฉายระบบตรง มีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1) ล้อม้วนฟิล์ม (Supply Reel) และล้อเก็บฟิล์ม (Take up Reel) ฟิล์มจากม้วนจะร้อยเข้าเครื่องและส่งไปยังล้อเก็บฟิล์ม
2) กลไกที่ทำให้ภาพเคลื่อนไหวบนจอ ได้แก่ เฟืองหนามเตย (Sprocket) กวัก (Intermittent) ใบพัดกั้นแสง (Shuter)
3) มอเตอร์ (Motor) ทำให้กลไกภายในเครื่องฉายหมุน เช่น พัดลม เฟืองหนามเตย กวัก และใบพัดกั้นแสง 4) ส่วนที่ทำให้เกิดแสง ได้แก่ แผ่นสะท้อนแสง หลอดฉาย เลนส์รวมแสง และเลนส์ฉาย
5) ประตูฟิล์ม (Film Gate) เป็นช่องให้ฟิล์มผ่าน โดยแสงจากหลอดจะส่องผ่านฟิล์ม ผ่านเลนส์ฉายออกสู่จอ
6) เลนส์ฉาย (Projection Lens) มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเลนส์ควบแสง และผ่านฟิล์มที่ประตูฟิล์มมายังเลนส์ฉาย เลนส์ฉายมีหน้าที่ขยายลำแสงที่ผ่านฟิล์มให้มีเนื้อที่มากขึ้น และ ปรากฏที่จอต่อไป ที่เลนส์ฉายนี้จะมีที่ปรับโฟกัสเพื่อช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนจอมีความชัด
ประเภทของภาพยนตร์
เราอาจใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของภาพยนตร์ ได้เป็นหลายอย่างด้วยกัน เช่น แบ่งตามขนาด ตามสี ตามเสียง ตามมิติ ตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ และอื่น ๆ เป็นต้น ในที่นี้ประเภทของภาพยนตร์ จะแบ่งออกตามลักษณะดังต่อไปนี้ 9.2.1 ขนาด หมายถึงแบ่งตามขนาดความกว้างของฟิล์มที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ขนาด 70 มม. 35 มม. และ 8 มม. 9.2.2 สี อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ภาพยนตร์ขาวดำ (Black and White Film) และภาพยนตร์สี (Color Film) 9.2.3 เสียง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ภาพยนตร์เงียบ (Silent Film) และ ภาพยนตร์เสียง (Sound Film) 9.2.4 มิติ อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือภาพยนตร์ 2 มิติ อย่างเราดูอยู่ในปัจจุบัน และภาพยนตร์ 3 มิติ ซึ่งต้องใช้แว่นตาสวมจึงจะสามารถมองเห็นความลึกได้อย่างเด่นชัด หรือต้องใช้เครื่องฉายหลายเครื่องฉายพร้อมกัน 9.2.5 วัตถุประสงค์ที่ใช้ อาจจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภทคือ
1) ภาพยนตร์บันเทิง (Entertainment Film) เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเฉพาะความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งมีฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วไป
2) ภาพยนตร์การศึกษา (Educational Film) เป็นภาพยนตร์ใช้สำหรับประกอบการสอนในห้องเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ใช้ประกอบการสอนเฉพาะวิชาต่าง ๆ ในห้องเรียนเรียกว่า Instructional Film หรือ Classroom Film และหากเป็นภาพยนตร์ที่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป รวมเรียกว่า Educational Film 3) ภาพยนตร์สารคดี (Documetary Film) เป็นภาพยนตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ๆ มุ่งให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป และข่าวสารแก่ผู้ชม
4) ภาพยนตร์ข่าว (News Film) เป็นภาพยนตร์ที่เสนอข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีค่าทางข่าวที่ประชาชนสนใจ และนำออกฉายให้ประชาชนในระยะเวลาใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นทำนองเดียวกับการเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์รายวัน
5) ภาพยนตร์โฆษณาสินค้า (Advertising Film หรือ Commercial Film) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อโฆษณาชักจูงคนให้ซื้อสินค้า หรือสนับสนุนธุรกิจการค้า ถ้าโฆษณาธุรกิจโดยตรงเรียกว่า Advertising Film แต่ถ้าเป็นการแสดงกิจการเป็นทำนองประชาสัมพันธ์เพื่อหวังผลให้คนนิยมผลิตภัณฑ์และธุรกิจ เรียกว่าภาพยนตร์การค้า (Commercial Film)
1) ภาพยนตร์บันเทิง (Entertainment Film) เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเฉพาะความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งมีฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วไป
2) ภาพยนตร์การศึกษา (Educational Film) เป็นภาพยนตร์ใช้สำหรับประกอบการสอนในห้องเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ใช้ประกอบการสอนเฉพาะวิชาต่าง ๆ ในห้องเรียนเรียกว่า Instructional Film หรือ Classroom Film และหากเป็นภาพยนตร์ที่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป รวมเรียกว่า Educational Film 3) ภาพยนตร์สารคดี (Documetary Film) เป็นภาพยนตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ๆ มุ่งให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป และข่าวสารแก่ผู้ชม
4) ภาพยนตร์ข่าว (News Film) เป็นภาพยนตร์ที่เสนอข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีค่าทางข่าวที่ประชาชนสนใจ และนำออกฉายให้ประชาชนในระยะเวลาใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นทำนองเดียวกับการเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์รายวัน
5) ภาพยนตร์โฆษณาสินค้า (Advertising Film หรือ Commercial Film) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อโฆษณาชักจูงคนให้ซื้อสินค้า หรือสนับสนุนธุรกิจการค้า ถ้าโฆษณาธุรกิจโดยตรงเรียกว่า Advertising Film แต่ถ้าเป็นการแสดงกิจการเป็นทำนองประชาสัมพันธ์เพื่อหวังผลให้คนนิยมผลิตภัณฑ์และธุรกิจ เรียกว่าภาพยนตร์การค้า (Commercial Film)
คุณลักษณะภาพยนตร์การศึกษา
จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์ชนิดต่าง ๆ ทำให้เห็นคุณลักษณะพิเศษของ ภาพยนตร์ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาได้โดยไม่มีสื่อการสอนชนิดอื่นทำได้ดีเท่า เป็นต้นว่า
9.3.1 ภาพยนตร์สามารถเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นจริงได้มากและได้ผลกว่าการบรรยายและยังช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้นานกว่า
9.3.2 ช่วยเร้าความสนใจของผู้ชมให้อยากติดตามอยู่ตลอดเวลา เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินทั้งเสียงและเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน
9.3.3 ช่วยนำเรื่องราวในอดีตมาให้ผู้เรียนศึกษาได้ เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ เช่น อาคีเมดีส หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นต้น
9.3.4 สามารถศึกษาถึงสิ่งที่อยู่ห่างไกลได้ เช่น เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับต่างประเทศหรือแม้แต่เรื่องของดวงจันทร์และดวงดาว
9.3.5 ช่วยให้สามารถศึกษาสิ่งที่หาดูได้ยาก สิ่งที่เป็นอันตราย เช่นการรีดพิษงู ความเป็นอยู่ของผึ้ง
9.3.1 ภาพยนตร์สามารถเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นจริงได้มากและได้ผลกว่าการบรรยายและยังช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้นานกว่า
9.3.2 ช่วยเร้าความสนใจของผู้ชมให้อยากติดตามอยู่ตลอดเวลา เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินทั้งเสียงและเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน
9.3.3 ช่วยนำเรื่องราวในอดีตมาให้ผู้เรียนศึกษาได้ เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ เช่น อาคีเมดีส หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นต้น
9.3.4 สามารถศึกษาถึงสิ่งที่อยู่ห่างไกลได้ เช่น เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับต่างประเทศหรือแม้แต่เรื่องของดวงจันทร์และดวงดาว
9.3.5 ช่วยให้สามารถศึกษาสิ่งที่หาดูได้ยาก สิ่งที่เป็นอันตราย เช่นการรีดพิษงู ความเป็นอยู่ของผึ้ง
ระบบโทรทัศน์
9.4.1 หลักการส่งและการรับสัญญาณโทรทัศน์ เนื่องจากภาพแต่ละภาพประกอบด้วยจุดที่มีความเข้มแตกต่างกัน หลายร้อยหลายพันจุด ถ้าเอารูปภาพมา 1 แผ่น แล้วเอากรรไกรตัดภาพออกเป็นแถบเล็ก ๆ ตามแนวราบจะเห็นว่าในแต่ละแถบจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ที่มีความเข้มมากน้อยต่างกันเรียงเป็นแถว ถ้านำแต่ละแถบมาประกอบเข้าด้วยกันตามลำดับเดิม จะเกิดเป็นภาพมีลักษณะเหมือนภาพเดิมได้ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ก็ใช้หลักเดียวกัน คือจะส่งภาพไปทีละจุดจากซ้ายไปขวา และจากส่วนบนไปส่วนล่าง โดยเปลี่ยนแต่ละจุดของภาพเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ผสมเข้ากับคลื่นวิทยุความถี่สูงในระบบเอเอ็ม แล้วส่งออกไปในอากาศในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนเสียงนั้นก็ส่งไปในระบบเอฟเอ็ม ทำนองเดียวกับการส่งวิทยุโดยใช้คลื่นที่มีความถี่อยู่ในช่อง (Channel) เดียวกัน แต่ละช่องจะมีย่านความถี่กว้างประมาณ 6 เมกกะเฮิร์ท ช่อง 2-6 อยู่ในช่วงความถี่ 54-86 เมกกะเฮิร์ท และช่อง 7-13 อยู่ในช่อง 174-216 เมกกะเฮิอร์ท ภาพแต่ละภาพระบบเดิมประกอบด้วย 525 เส้น แต่ปัจจุบันใช้ 625 เส้น เพื่อให้ได้ภาพนิ่มนวลกว่าเดิม และใน 1 วินาที สามารถส่งภาพได้ถึง 30 ภาพ อุปกรณ์ที่สำคัญในการส่งภาพ คือ หลอดส่งภาพ (Camera Tube) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกล้องถ่ายโทรทัศน์ เป็นหลอดสูญญากาศ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ
1) เลนส์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพจริงของวัตถุตกลงบนแผ่นรับภาพ
2) แผ่นรับภาพ เป็นฉนวนไฟฟ้า ประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ มากมายเรียงเป็นแถวอยู่ใกล้ ชิดกันมาก แต่ละจุดมีสารที่ไวต่อแสง เช่น Cesium Oxide เคลือบไว้เมื่อแสงตกกระทบจะปล่อยอิเล็กตรอนให้หลุดออกไป ปริมาณของอิเล็กตรอนที่กระเด็นออกไป จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มของแสงที่ตกกระทบ เนื่องจากแสงที่ตกกระทบไม่เท่ากัน แต่ละจุดถึงปล่อยอิเล็กตรอนออกไปมากน้อยไม่เท่ากัน
3) วงแหวนโลหะ จะวางอยู่ด้านหน้าของแผ่นรับภาพ ทำหน้าที่รวบรวมอิเล็กตรอนที่กระเด็นออกจากแผ่นรับภาพ ระบายออกสู่ภายนอก
4) แผ่นสัญญาณภาพ เป็นแผ่นโลหะวางประกบอยู่ด้านหลังแผ่นรับภาพ โดยมีฉนวนคั่น
5) ปืนอิเล็กตรอน เป็นแหล่งกำเนิดลำอิเล็กตรอน มีไส้หลอดเป็นตัวปล่อยอิเล็กตรอนมีแผ่นเพลทเป็นตัวดึงอิเล็กตรอนโดยใช้ประจุบวกเป็นตัวล่อ ตรงใจกลางแผ่นเพลทมีรู อิเล็กตรอนจึงวิ่งผ่านรูไปด้วยความเร็วสูงมาก กลายเป็นลำอิเล็กตรอน ลำอิเล็กตรอนนี้จะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวในแนวราบอีกชุดหนึ่งบังคับในแนวดิ่ง ลำอิเล็กตรอนนี้จะตกกระทบแผ่นรับภาพ และถูกบังคับให้กวาดไปบนแผ่นรับภาพจากขอบบนด้านซ้ายไปขวา แล้วมาเริ่มทางซ้ายใหม่ แต่ละเส้นจะค่อย ๆ ลดระดับต่ำลงจนถึงขอบล่างของแผ่นภาพ ซึ่งมีจำนวนถึง 625 เส้น โดยใช้เวลาเพียง 1/30 วินาที
9.4.2 โทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) โทรทัศน์วงจรปิดมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "โทรทัศน์ทางสาย" โทรทัศน์วงจรปิด คือ โทรทัศน์ที่ต่อสายจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ แต่ในบางแห่งได้ รวมความไปถึงโทรทัศน์ซึ่งส่งผ่านสื่อที่ผู้อื่นที่ไม่ใช่สมาชิกรับไม่ได้เข้าไปด้วย เช่น ส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟหรือส่งผ่านดาวเทียมบางระบบ แต่โทรทัศน์วงจรปิดที่แท้จริงนั้นก็คือ โทรทัศน์ที่มีสายเคเบิลต่อระหว่างเครื่องส่งกับเครื่องรับ
9.4.3 เคเบิล เทเลวิชั่น (Cable Television) คำว่า "เคเบิล เทเลวิชั่น" นี้มักจะหมายถึงสถานีโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่ส่งสัญญาณไปตามสาย เพื่อบริการแก่สมาชิกซึ่งต้องเสียเงิน ที่สถานีโทรทัศน์แบบเคเบิลทีวีนี้ อาจมีเครื่องมือมากกว่าสถานีโทรทัศน์ก็ได้ ถ้าทำรายการเอง หรืออาจมีแต่เครื่องส่ง และเทปบันทึกภาพก็ได้ ถ้าซื้อรายการจากผู้อื่น เคเบิลทีวีนี้สถานีหนึ่งอาจมีได้ตั้งหลายรายการ เพราะจำนวนความถี่ต่าง ๆ ที่ส่งไปจะอยู่ในสาย สามารถเลือกช่องความถี่สัญญาณได้ตามสบายเพราะไม่กวนใคร ยกเว้นมีการถ่ายทอดด้วยไมโครเวฟเป็นบางตอน เคเบิลทีวีสมัยใหม่ อาจส่งด้วยความถี่ไมโครเวฟ คือ ตั้งแต่ 1 จิกะเฮิรตซ์ ขึ้นไปแล้วไปใช้สายอากาศพิเศษรับที่เครื่องรับ เพราะเขาถือว่าการส่งไมโครเวฟนั้นสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรงเล็ก ๆ ไปยังเครื่องรับเลย แต่ความจริงก็ไม่ถูกต้อง และเนื่องจากการส่งและรับอย่างนี้ ผู้ชมต้องเสียเงินจึงจะได้ชม จึงมักเรียกว่า "เปย์ทีวี" (Pay TV) เคเบิลทีวีอาจมีรายการต่าง ๆ กันส่งไปในสายเดียวกันได้ถึง 32 รายการหรือมากกว่านั้น ปัจจุบันนี้ได้ใช้ท่อใยแก้ว (optical fiber) หรือสายใยแก้วช่วยในการส่งสัญญาณโทรทัศน์จึงยิ่งทำให้ส่งสัญญาณไปได้ มากกรายการขึ้น ท่อใยแก้ว คือ ท่อหรือสายที่เป็นแก้วซึ่งมีดรรชนีหักเหสูงมาก เมื่อปล่อยแสงจากปลายหนึ่ง แสงจะไปปรากฎที่อีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างใยแก้วจะดูได้จากโคมไฟฟ้าที่มีเส้นแก้วเป็นเส้น ๆ ตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
9.4.4 ระบบสีของโทรทัศน์
ระบบสีของโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ
1) ระบบ NTSC เป็น ระบบแรกที่ได้คิดค้นขึ้น และได้ปรับปรุงในสหรัฐอเมริกาในปี 1953 The Federal Communication Commission ได้ยอมรับรองระบบสีมาตรฐานนี้โดยการแนะนำของคณะกรรมการโทรทัศน์ (The National Television Committee) บริษัทผู้มีส่วนคิดค้นโทรทัศน์ระบบนี้คือ บริษัท RCA (The Radio Corperation of America) ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตริโก้ และเมกซิโก เป็นต้น
2) ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบต่อมาที่มีการคิดค้นขึ้นโดยบริษัท Telefunen Laboratory of Hanover ประเทศเยอรมันตะวันตก ระบบนี้การเพี้ยนของสีน้อยลง มีหลายประเทศที่ใช้กันคือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ฯลฯ
3) ระบบ SECAM เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France ที่ใช้กันอยู่หลายประเทศได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็นต้น ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
1) เลนส์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพจริงของวัตถุตกลงบนแผ่นรับภาพ
2) แผ่นรับภาพ เป็นฉนวนไฟฟ้า ประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ มากมายเรียงเป็นแถวอยู่ใกล้ ชิดกันมาก แต่ละจุดมีสารที่ไวต่อแสง เช่น Cesium Oxide เคลือบไว้เมื่อแสงตกกระทบจะปล่อยอิเล็กตรอนให้หลุดออกไป ปริมาณของอิเล็กตรอนที่กระเด็นออกไป จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มของแสงที่ตกกระทบ เนื่องจากแสงที่ตกกระทบไม่เท่ากัน แต่ละจุดถึงปล่อยอิเล็กตรอนออกไปมากน้อยไม่เท่ากัน
3) วงแหวนโลหะ จะวางอยู่ด้านหน้าของแผ่นรับภาพ ทำหน้าที่รวบรวมอิเล็กตรอนที่กระเด็นออกจากแผ่นรับภาพ ระบายออกสู่ภายนอก
4) แผ่นสัญญาณภาพ เป็นแผ่นโลหะวางประกบอยู่ด้านหลังแผ่นรับภาพ โดยมีฉนวนคั่น
5) ปืนอิเล็กตรอน เป็นแหล่งกำเนิดลำอิเล็กตรอน มีไส้หลอดเป็นตัวปล่อยอิเล็กตรอนมีแผ่นเพลทเป็นตัวดึงอิเล็กตรอนโดยใช้ประจุบวกเป็นตัวล่อ ตรงใจกลางแผ่นเพลทมีรู อิเล็กตรอนจึงวิ่งผ่านรูไปด้วยความเร็วสูงมาก กลายเป็นลำอิเล็กตรอน ลำอิเล็กตรอนนี้จะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวในแนวราบอีกชุดหนึ่งบังคับในแนวดิ่ง ลำอิเล็กตรอนนี้จะตกกระทบแผ่นรับภาพ และถูกบังคับให้กวาดไปบนแผ่นรับภาพจากขอบบนด้านซ้ายไปขวา แล้วมาเริ่มทางซ้ายใหม่ แต่ละเส้นจะค่อย ๆ ลดระดับต่ำลงจนถึงขอบล่างของแผ่นภาพ ซึ่งมีจำนวนถึง 625 เส้น โดยใช้เวลาเพียง 1/30 วินาที
9.4.2 โทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) โทรทัศน์วงจรปิดมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "โทรทัศน์ทางสาย" โทรทัศน์วงจรปิด คือ โทรทัศน์ที่ต่อสายจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ แต่ในบางแห่งได้ รวมความไปถึงโทรทัศน์ซึ่งส่งผ่านสื่อที่ผู้อื่นที่ไม่ใช่สมาชิกรับไม่ได้เข้าไปด้วย เช่น ส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟหรือส่งผ่านดาวเทียมบางระบบ แต่โทรทัศน์วงจรปิดที่แท้จริงนั้นก็คือ โทรทัศน์ที่มีสายเคเบิลต่อระหว่างเครื่องส่งกับเครื่องรับ
9.4.3 เคเบิล เทเลวิชั่น (Cable Television) คำว่า "เคเบิล เทเลวิชั่น" นี้มักจะหมายถึงสถานีโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่ส่งสัญญาณไปตามสาย เพื่อบริการแก่สมาชิกซึ่งต้องเสียเงิน ที่สถานีโทรทัศน์แบบเคเบิลทีวีนี้ อาจมีเครื่องมือมากกว่าสถานีโทรทัศน์ก็ได้ ถ้าทำรายการเอง หรืออาจมีแต่เครื่องส่ง และเทปบันทึกภาพก็ได้ ถ้าซื้อรายการจากผู้อื่น เคเบิลทีวีนี้สถานีหนึ่งอาจมีได้ตั้งหลายรายการ เพราะจำนวนความถี่ต่าง ๆ ที่ส่งไปจะอยู่ในสาย สามารถเลือกช่องความถี่สัญญาณได้ตามสบายเพราะไม่กวนใคร ยกเว้นมีการถ่ายทอดด้วยไมโครเวฟเป็นบางตอน เคเบิลทีวีสมัยใหม่ อาจส่งด้วยความถี่ไมโครเวฟ คือ ตั้งแต่ 1 จิกะเฮิรตซ์ ขึ้นไปแล้วไปใช้สายอากาศพิเศษรับที่เครื่องรับ เพราะเขาถือว่าการส่งไมโครเวฟนั้นสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรงเล็ก ๆ ไปยังเครื่องรับเลย แต่ความจริงก็ไม่ถูกต้อง และเนื่องจากการส่งและรับอย่างนี้ ผู้ชมต้องเสียเงินจึงจะได้ชม จึงมักเรียกว่า "เปย์ทีวี" (Pay TV) เคเบิลทีวีอาจมีรายการต่าง ๆ กันส่งไปในสายเดียวกันได้ถึง 32 รายการหรือมากกว่านั้น ปัจจุบันนี้ได้ใช้ท่อใยแก้ว (optical fiber) หรือสายใยแก้วช่วยในการส่งสัญญาณโทรทัศน์จึงยิ่งทำให้ส่งสัญญาณไปได้ มากกรายการขึ้น ท่อใยแก้ว คือ ท่อหรือสายที่เป็นแก้วซึ่งมีดรรชนีหักเหสูงมาก เมื่อปล่อยแสงจากปลายหนึ่ง แสงจะไปปรากฎที่อีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างใยแก้วจะดูได้จากโคมไฟฟ้าที่มีเส้นแก้วเป็นเส้น ๆ ตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
9.4.4 ระบบสีของโทรทัศน์
ระบบสีของโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ
1) ระบบ NTSC เป็น ระบบแรกที่ได้คิดค้นขึ้น และได้ปรับปรุงในสหรัฐอเมริกาในปี 1953 The Federal Communication Commission ได้ยอมรับรองระบบสีมาตรฐานนี้โดยการแนะนำของคณะกรรมการโทรทัศน์ (The National Television Committee) บริษัทผู้มีส่วนคิดค้นโทรทัศน์ระบบนี้คือ บริษัท RCA (The Radio Corperation of America) ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตริโก้ และเมกซิโก เป็นต้น
2) ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบต่อมาที่มีการคิดค้นขึ้นโดยบริษัท Telefunen Laboratory of Hanover ประเทศเยอรมันตะวันตก ระบบนี้การเพี้ยนของสีน้อยลง มีหลายประเทศที่ใช้กันคือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ฯลฯ
3) ระบบ SECAM เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France ที่ใช้กันอยู่หลายประเทศได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็นต้น ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
การนำวิทยุโทรทัศน์มาใช้ในการศึกษา
9.5.1 ประเภทของรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา การจัดรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ถ้าแบ่งตามวัตถุ ประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) รายการเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป (Informal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ทั่วไปแก่ประชาชน เพื่อความกินดีอยู่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
2) รายการเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนโดยจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร ประมวลการสอน และวิธีสอน เพื่อช่วยการเรียนการสอนของครูและนักเรียนในโรงเรียน
3) รายการเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non Formal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน อาจเป็นรายการที่เป็นไปตามหลักสูตรหรือเป็นการสอนเสริมตามหลักสูตรในระบบโรงเรียน หรือเป็นการศึกษากลุ่มสนใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาชีพและสภาพแวดล้อมการแบ่งประเภทรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานี้ ตำราบางเล่มอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เท่านั้นคือ
1) รายการความรู้ทั่วไป เป็นรายการที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป การจัดรายการประเภทนี้ อาจทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ - รายการสาระบันเทิง เป็นรายการที่เน้นด้านเนื้อหาสาระ โดยสอดแทรกความบันเทิงไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่าย เช่น รายการสารคดี รายการตอบปัญหา ละครชีวิตต่อต้านยาเสพติด - รายการส่งเสริมการศึกษา เป็นรายการที่มุ่งให้เนื้อหาสาระที่ชัดเจนแก่ผู้ชม มักจัดรายการเป็นชุด เช่น รายการชุดชีวิตสัตว์ ชีพจรลงเท้า ความรู้คือประทีป
2) รายการเพื่อการสอน เป็นรายการที่ผลิตขึ้นเพื่อการสอนตามหลักสูตรในระดับใดระดับหนึ่ง รายการมีลักษณะเป็นบทเรียน แบ่งเป็นตอน ๆ มีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ และมีการวัดผลการเรียนจากการชมรายการด้วย อาจจัดได้เป็น 3 ลักษณะคือ - รายการทำหน้าที่สอนทั้งหมด เป็นรายการที่สอนเบ็ดเสร็จในตัว ทำหน้าที่แทนครู - รายการทำหน้าที่สอนเนื้อหาหลัก เป็นรายการที่สอนเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญต้องอาศัยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ อธิบาย ขยายความ หรือให้ทำกิจกรรมเสริม - รายการทำหน้าที่เสริมการสอน เป็นรายการที่จัดขึ้น เพื่อเสริมการสอนของครูให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น การแสดงละคร การสาธิต หรือการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
9.5.2 รูปแบบการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1) รายการสดที่จัดขึ้นในห้องส่ง แล้วถ่ายทอดออกอากาศโดยตรง รายการ ลักษณะนี้อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้
2) รายการถ่ายทอดสดจากภายนอก ส่วนมากเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสังคม และประชาชนส่วนใหญ่สนใจ
3) รายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า เฉพาะสำหรับรายการที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า และต้องการควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาด
4) รายการจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้แก่ภาพยนตร์ข่าว บันเทิง สารคดี ฯลฯ ซึ่งนำมาฉายแพร่ภาพออกอากาศ
9.5.3 การใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอน ปัจจุบันตามสถานศึกษานิยมใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการศึกษากันแพร่หลาย โดย เฉพาะในรูปของวีดีโอเทป ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบดังนี้
1) ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แล้วนำมาฉายให้นักศึกษาชม ทำหน้าที่แทนครู
2) ใช้เสริมการสอนของครู โดยนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอน ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนเตรียมการล่วงหน้า
3) ใช้เสริมการเรียนของนักศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษานำวีดีโอเทปไปเปิดดูตามลำพังในยามว่าง
4) ใช้เป็นเครื่องมือในการสาธิต หรือใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยให้นักศึกษามองเห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด
5) ใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามองเห็น ข้อบกพร่องของตนเองเพื่อหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น
6) ใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมเหตุการณ์ และความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ โดยการบันทึกเรื่องราวลงไว้ในเส้นเทป อาจบันทึกจากรายการโทรทัศน์ จากภาพยนตร์หรือจากกล้องโทรทัศน์ก็ได้
1) รายการเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป (Informal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ทั่วไปแก่ประชาชน เพื่อความกินดีอยู่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
2) รายการเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนโดยจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร ประมวลการสอน และวิธีสอน เพื่อช่วยการเรียนการสอนของครูและนักเรียนในโรงเรียน
3) รายการเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non Formal Education) เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน อาจเป็นรายการที่เป็นไปตามหลักสูตรหรือเป็นการสอนเสริมตามหลักสูตรในระบบโรงเรียน หรือเป็นการศึกษากลุ่มสนใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาชีพและสภาพแวดล้อมการแบ่งประเภทรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานี้ ตำราบางเล่มอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เท่านั้นคือ
1) รายการความรู้ทั่วไป เป็นรายการที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป การจัดรายการประเภทนี้ อาจทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ - รายการสาระบันเทิง เป็นรายการที่เน้นด้านเนื้อหาสาระ โดยสอดแทรกความบันเทิงไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่าย เช่น รายการสารคดี รายการตอบปัญหา ละครชีวิตต่อต้านยาเสพติด - รายการส่งเสริมการศึกษา เป็นรายการที่มุ่งให้เนื้อหาสาระที่ชัดเจนแก่ผู้ชม มักจัดรายการเป็นชุด เช่น รายการชุดชีวิตสัตว์ ชีพจรลงเท้า ความรู้คือประทีป
2) รายการเพื่อการสอน เป็นรายการที่ผลิตขึ้นเพื่อการสอนตามหลักสูตรในระดับใดระดับหนึ่ง รายการมีลักษณะเป็นบทเรียน แบ่งเป็นตอน ๆ มีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ และมีการวัดผลการเรียนจากการชมรายการด้วย อาจจัดได้เป็น 3 ลักษณะคือ - รายการทำหน้าที่สอนทั้งหมด เป็นรายการที่สอนเบ็ดเสร็จในตัว ทำหน้าที่แทนครู - รายการทำหน้าที่สอนเนื้อหาหลัก เป็นรายการที่สอนเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญต้องอาศัยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ อธิบาย ขยายความ หรือให้ทำกิจกรรมเสริม - รายการทำหน้าที่เสริมการสอน เป็นรายการที่จัดขึ้น เพื่อเสริมการสอนของครูให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น การแสดงละคร การสาธิต หรือการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
9.5.2 รูปแบบการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1) รายการสดที่จัดขึ้นในห้องส่ง แล้วถ่ายทอดออกอากาศโดยตรง รายการ ลักษณะนี้อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้
2) รายการถ่ายทอดสดจากภายนอก ส่วนมากเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสังคม และประชาชนส่วนใหญ่สนใจ
3) รายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า เฉพาะสำหรับรายการที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า และต้องการควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาด
4) รายการจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้แก่ภาพยนตร์ข่าว บันเทิง สารคดี ฯลฯ ซึ่งนำมาฉายแพร่ภาพออกอากาศ
9.5.3 การใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอน ปัจจุบันตามสถานศึกษานิยมใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการศึกษากันแพร่หลาย โดย เฉพาะในรูปของวีดีโอเทป ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบดังนี้
1) ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แล้วนำมาฉายให้นักศึกษาชม ทำหน้าที่แทนครู
2) ใช้เสริมการสอนของครู โดยนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอน ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนเตรียมการล่วงหน้า
3) ใช้เสริมการเรียนของนักศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษานำวีดีโอเทปไปเปิดดูตามลำพังในยามว่าง
4) ใช้เป็นเครื่องมือในการสาธิต หรือใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยให้นักศึกษามองเห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด
5) ใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามองเห็น ข้อบกพร่องของตนเองเพื่อหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น
6) ใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมเหตุการณ์ และความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ โดยการบันทึกเรื่องราวลงไว้ในเส้นเทป อาจบันทึกจากรายการโทรทัศน์ จากภาพยนตร์หรือจากกล้องโทรทัศน์ก็ได้
ระบบวีดิทัศน์
การพัฒนาทางด้านภาพและเสียงเพื่อการนำเสนอหรือด้านการเรียนการสอนเป็นไป อย่างรวดเร็วมากนับตั้งแต่การใช้เทปเสียงประกอบการสอน การใช้สไลด์ประกอบเสียงจนกระทั่งถึงการใช้วีดิทัศน์ช่วยเป็นสื่อในการสอน คือมีสื่อภาพและเสียงที่ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งมีอุปกรณ์ 2 ประเภท คือ วีดีทัศน์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อนจะนำมาใช้ ควรได้ศึกษาระบบของวีดิทัศน์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ภาพและเสียงที่ดีที่สุด และมีความเหมาะสมที่สุดในการเรียนการสอนเทปบันทึกภาพ (Video Tape) ในปัจจุบันการจัดทำรายการโทรทัศน์สามารถบันทึกภาพ และเสียงลงในเส้นเทปได้ ทำให้การจัดรายการมีความสะดวกขึ้น โดยบันทึกรายการไว้ล่วงหน้าและสามารถเก็บรายการไว้ใช้ในโอกาสต่อไปได้ เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกภาพลงบนเส้นเทป เรียกว่า Video Tape Recorder (VTR) ซึ่งเหมาะที่จะนำมาใช้ในวงการศึกษา เพราะสามารถบันทึกรายการนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ซ้ำ ๆ ในปัจจุบันความกว้างของเทปโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 4 ขนาดด้วยกันคือ
9.6.1 เทปขนาด 1" เป็นเทปที่ใช้เพื่องานสถานีโทรทัศน์ (Broadcast) โดยเฉพาะไม่ใช้ในวงการศึกษา 9.6.2 เทปขนาด 3/4" (U-matic) เป็นเทปโทรทัศน์ขนาดมาตรฐาน ที่ใช้เพื่องานโทรทัศน์อาชีพและเพื่อการศึกษา ให้คุณภาพชัดเจนมาก สามารถนำเทปที่ถ่ายแล้วมาถ่ายตัดต่อได้ คุณภาพดีทั้งเทป และอุปกรณ์มีราคาค่อนข้างแพง
9.6.3 เทปขนาด 1/2" ก. เทปขนาด 1/2" เป็นขนาดที่ใช้ตามบ้าน (Home Use) ระบบสี เป็นระบบม้วนปิด หรือตลับ (Cassette) ปัจจุบันได้นำมาใช้ทางการศึกษาด้วย เพราะราคาถูกและคุณภาพดีขึ้นในประเทศไทยเรารู้จักกันดีในระบบ VHS และ Betamax ปัจจุบันบริษัท SONY ได้พัฒนาระบบ Betamax ให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อใช้กับงานอาชีพ เช่น กล้องบันทึกภาพเบต้า (Betacam) เป็นต้น ข. เทปขนาด 1/2" รุ่น VSH-C เป็นเทประบบตลับเล็กที่นิยมใช้กันตามบ้านและหมู่ นักท่องเที่ยว ใช้กับกล้องระบบ VSH-C ซึ่งตลับเทปนี้มีข้อดีคือสามารถเปิดดูด้วยกล้องถ่าย หรือใส่ตลับปรับขนาด เพื่อใช้กับเครื่องเทประบบ VHS ที่ใช้ตามบ้านได้ด้วย ความชัดเจนดีมาก ราคากล้องไม่แพง มีทั้งระบบอานาล๊อค และดิจิตอล ซึ่งคิดว่าเป็นเทปรุ่นที่ประหยัดและคุณภาพสูง สามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษาได้ดีทั้งเพื่อการผลิตเทปโทรทัศน์และตัดต่อได้ด้วยตนเอง
9.6.4 เทปขนาด 8 มม. เป็นเทปที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผู้ผลิตมุ่งเอา ใจผู้ที่เคยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ 8 มม. นั่นเอง แต่ประสิทธิภาพดีเกินคาด มีขนาดเล็กเบาเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวและถ้าจะนำมาใช้ทางการศึกษาก็มีคุณภาพได้ดีเช่นกัน แต่มีข้อเสียที่นำมาใช้กับเครื่องเทปตามบ้าน ระบบ VHS ไม่ได้
9.6.1 เทปขนาด 1" เป็นเทปที่ใช้เพื่องานสถานีโทรทัศน์ (Broadcast) โดยเฉพาะไม่ใช้ในวงการศึกษา 9.6.2 เทปขนาด 3/4" (U-matic) เป็นเทปโทรทัศน์ขนาดมาตรฐาน ที่ใช้เพื่องานโทรทัศน์อาชีพและเพื่อการศึกษา ให้คุณภาพชัดเจนมาก สามารถนำเทปที่ถ่ายแล้วมาถ่ายตัดต่อได้ คุณภาพดีทั้งเทป และอุปกรณ์มีราคาค่อนข้างแพง
9.6.3 เทปขนาด 1/2" ก. เทปขนาด 1/2" เป็นขนาดที่ใช้ตามบ้าน (Home Use) ระบบสี เป็นระบบม้วนปิด หรือตลับ (Cassette) ปัจจุบันได้นำมาใช้ทางการศึกษาด้วย เพราะราคาถูกและคุณภาพดีขึ้นในประเทศไทยเรารู้จักกันดีในระบบ VHS และ Betamax ปัจจุบันบริษัท SONY ได้พัฒนาระบบ Betamax ให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อใช้กับงานอาชีพ เช่น กล้องบันทึกภาพเบต้า (Betacam) เป็นต้น ข. เทปขนาด 1/2" รุ่น VSH-C เป็นเทประบบตลับเล็กที่นิยมใช้กันตามบ้านและหมู่ นักท่องเที่ยว ใช้กับกล้องระบบ VSH-C ซึ่งตลับเทปนี้มีข้อดีคือสามารถเปิดดูด้วยกล้องถ่าย หรือใส่ตลับปรับขนาด เพื่อใช้กับเครื่องเทประบบ VHS ที่ใช้ตามบ้านได้ด้วย ความชัดเจนดีมาก ราคากล้องไม่แพง มีทั้งระบบอานาล๊อค และดิจิตอล ซึ่งคิดว่าเป็นเทปรุ่นที่ประหยัดและคุณภาพสูง สามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษาได้ดีทั้งเพื่อการผลิตเทปโทรทัศน์และตัดต่อได้ด้วยตนเอง
9.6.4 เทปขนาด 8 มม. เป็นเทปที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผู้ผลิตมุ่งเอา ใจผู้ที่เคยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ 8 มม. นั่นเอง แต่ประสิทธิภาพดีเกินคาด มีขนาดเล็กเบาเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวและถ้าจะนำมาใช้ทางการศึกษาก็มีคุณภาพได้ดีเช่นกัน แต่มีข้อเสียที่นำมาใช้กับเครื่องเทปตามบ้าน ระบบ VHS ไม่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)